เนื้อหา

ภัยจากไฟป่า

               ไฟป่า หมายถึงไฟที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและเกิดจากมนุษย์ ทำให้เกิดการลุกไหม้ในป่าโดยอิสระปราศจากการควบคุม ทั้งนี้ไม่ว่าไฟนั้นจะลุกลามไหม้ในป่าธรรมชาติ หรือสวนป่า คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่า
              ไฟป่า คือไฟที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า หรือกิ่งไม้เสียดสีกัน ส่วนไฟที่เกิดจากคนจุดจะไม่เรียกว่าไฟป่า แต่ความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก คำว่า Forest Fire หรือ Wild Fire รวมถึงไฟที่เกิดจากคนทำให้เกิดขึ้นด้วย
1. ลักษณะของไฟป่า
ไฟป่าสามารถจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของการเผาไหม้ ดังนี้
1.1  ไฟใต้ดิน  คือไฟป่าที่เผาไหม้เชื้อเพลิงที่ฝังทับถมอยู่ในดิน มักเกิดในประเทศในเขตอบอุ่น
หรือที่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก ๆ  ซึ่งอากาศหนาวเย็นทำให้อัตราการย่อยสลายของอินทรียวัตถุค่อนข้างต่ำ
ทำให้มีการสะสมตัวของอินทรียวัตถุเป็นชั้นหนาอยู่บนหน้าดิน  ไฟชนิดนี้จะลุกลามไปช้า ๆ ใต้ผิวดิน
ในบางครั้งยากที่จะสังเกตเห็นได้ เพราะเปลวไฟหรือแสงสว่างไม่โผล่ขึ้นมาบนดินเลย ทั้งควันก็มีน้อยมาก
ไฟชนิดนี้อาจเป็นสาเหตุของไฟชนิดอื่นต่อไปได้ และยากต่อการดำเนินการดับไฟ ในประเทศไทยเกิดไฟใต้
ดินเป็นบางครั้งในป่าพรุทางภาคใต้
1.2  ไฟผิวดิน คือไฟป่าที่เผาไหม้เชื้อเพลิงบนผิวดิน ไฟชนิดนี้เผ่าไหม้ลุกลามไปตามพื้นป่า
ซึ่งเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ ได้แก่ หญ้า ใบไม้ ที่ตกสะสมบนผิวดิน รวมทั้งลูกไม้ วัชพืช ไม้พุ่มทั้งหลาย ไฟชนิดนี้
มีการลุกลามอย่างรวดเร็ว และอาจก่อให้เกิดไฟชนิดอื่นขึ้นได้ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของพื้น
ป่า และลักษณะเชื้อเพลิง ไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทนี้
1.3  ไฟเรือนยอด คือไฟป่าที่ลุกลามไปตามเรือนยอดของต้นไม้ โดยเฉพาะในป่าสนของ
เขตอบอุ่น ซึ่งไม้จำพวกนี้มียางช่วยให้เกิดการลุกลามได้ดี  ไฟเรือนยอดมักจะรุนแรงมากยากต่อการดำ
เนินการดับไฟ และสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ป่าอย่างมาก ไฟป่าชนิดนี้สามารถแยกย่อยลงไป
อีกเป็น 2 ประเภท
          -   ไฟเรือนยอดที่ต้องอาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ คือไฟป่าที่ลุกลามไปตามเรือนยอดของ
ไม้ชั้นบน แต่ต้องอาศัยไฟที่ลุกลามไปตามพื้นป่าเป็นตัวนำเชื้อเพลิงไปสู่เรือนยอดต้นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงไฟ
ชนิดนี้มักเกิดในป่าที่ต้นไม้มีเรือนยอดอยู่ห่างกัน และพื้นป่าประกอบด้วย หญ้า หรือวัชพืชอื่น ๆ ที่ เป็น
เชื้อเพลิงได้ดี  การลุกลามจากยอดไม้ต้นหนึ่งไปสู่ยอดไม้อีกต้นหนึ่งจะต้องอาศัยการลุกลามของหญ้าหรือ
เชื้อเพลิงอื่นบนพื้นป่าเป็นตัวนำเปลวไฟ  และให้ความร้อนจนต้นไม้ที่ไฟผิวดินลุกลามไปถึงแห้งและร้อน
จนถึงจุดลุกไหม้ลักษณะไฟป่าชนิดนี้จะเห็นไฟผิวดินลุกลามไปก่อนและตามด้วยไฟเรือนยอด
          -   ไฟเรือนยอดที่ไม่ต้องอาศัยไฟผิวดิน  เกิดในป่าที่มีต้นไม้ยืนต้นที่ติดไฟได้ง่ายและ
มีเรือนยอดแน่นทึบติดต่อกัน  เช่น ป่าไม้ในเขตอบอุ่น  การลุกไหม้จะเป็นอย่างรุนแรง เรือนยอดของต้น
ไม้ที่ถูกไฟไหม้จะให้ความร้อนและจุดเพลิงให้แก่ต้นข้างเคียง  ซึ่งก่อให้เกิดการลุกลามไปเรื่อย ๆ  ลุกไฟ
จากเรือนยอดจะตกลงบนพื้นดิน  และลุกไหม้พื้นป่าตามไปด้วย  ทำให้ป่าถูกเผาไหม้อย่างราบพนาสูญ
การดับไฟทำได้ยากและอันตรายมาก
2. ฤดูกาลเกิดไฟป่าในประเทศไทย
ในประเทศไทยไฟป่าจะเกิดในช่วงฤดูแล้ง  ซึ่งแต่ละภาคการเริ่มต้นฤดูแล้งไม่ตรงกัน เช่น
ทางภาคตะวันออกเฉียงหรือจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงพฤษภาคม  ส่วนภาคเหนือจะเริ่ม
ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ภาคกลางจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ภาคไต้ และ
ภาคตะวันออกถ้าฝนทิ้งช่วงนาน ๆ ฤดูแล้งจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
       การเกิดไฟป่ามักจะเกิดช่วงแล้ง เพราะในช่วงฤดูแล้งต้นไม้ผลัดใบ อากาศแห้งแล้ง ต้นไม้
ขวดน้ำ หญ้าหรือต้นไม้เล็ก ๆ อาจจะแห้งตายเป็นเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก ถ้าเกิดการลุกไหม้จะเกิดการติดต่อลุกลาม เป็นไฟป่าได้ง่าย
3. สาเหตุของไฟป่า
3.1  สาเหตุจากธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าผ่า ทำให้เกิดความร้อนและลุกไหม้ กิ่งไม้แห้งเสียดสีกัน
เช่น กิ่งไผ่ หรือต้นไผ่เสียดสีกันเกิดความร้อนลุกไหม้ ความร้อนจากใต้ดิน เช่น การระเบิดของภูเขาไฟที่มี
ลาวาไหลผ่านไปตามบริเวณป่า ทำให้เกิดการลุกไหม้เป็นไฟป่าขึ้น
3.2 สาเหตุจากคนจุดไฟเผาป่า
           ปัจจุบันในประเทศไทยไม่พบไฟป่าที่เกิดขึ้นจากสาเหตุธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้เสียดสี
หรือฟ้าผ่า  ดังนั้นไฟป่าที่เกิดขึ้นทุกครั้งจึงเกิดจากการกระทำของตน  สาเหตุที่ทำให้คนจุดไฟเผาป่า แยก
ออกได้เป็น 2 สาเหตุใหญ่ คือ การจุดไฟโดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งและจุดไฟโดยปราศจาก
เหตุผลใด ๆ
          การจุดไฟโดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ฟ้าผ่าต้นไม้ ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ป่าไม้ได้
        -   เผาไร่ เพื่อกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่เพาะปลูก โดยปราศจาการควบคุม ทำให้
ไฟลุกลามเข้าป่า เกิดเป็นไฟป่าขึ้น
         -   ล่าสัตว์ จุดไฟเพื่อให้สัตว์หนีไฟออกจากที่ซ่อนสะดวกในการล่า
         -  เก็บหาของป่า เช่น ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ฟืน เป็นต้น
         -   เพื่อความสะดวกในการเดินผ่านป่า โดยจุดไฟเผาให้ป่าโล่ง หรือเพื่อให้แสงสว่าง
ง่ายต่อการเดินทาง
         -  เลี้ยงสัตว์ มักเกิดในบริเวณเขตป่าที่ติดต่อกับหมู่บ้าน ชาวบ้านจะจุดไฟเผาป่าเพื่อ
ให้หญ้าแตกใบอ่อน เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น วัว  ควาย
         -   ไฟที่จุดโดยคนที่เข้าไปพักแรมในป่า เช่น หุงต้มอาหาร ให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น
หรือไฟจากก้นบุหรี่ที่ผู้จุดปล่อยละเลย  ไม่ได้ดับให้สนิทจนทำให้เกิดการลุกลามกลาย
เป็นไฟป่า
         -   จุดเพื่อกลั่นแกล้ง เช่น ในกรณีที่ชาวบ้านในพื้นที่เกิดความขัดแย้งกับหน่วยงานของ
ทางราชการในท้องที่ เช่น สวนป่า อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ
4. ผลกระทบจากไฟป่า
4.1  ทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลง การซึมซับน้ำลดลง
4.2  ทำให้สภาพของดินขาดความอุดมสมบรูณ์ เพราะความร้อนทำลายจุลินทรีย์ในดิน
4.3  ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดินได้ง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก
4.4  ทำให้เกิดอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากเพราะดินซึมซับน้ำน้อยลง
4.5  ทำให้กล้าไม้เล็กหมดโอกาสเติบโต ต้นไม้ใหญ่ชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นมีแผลลึก
แมลงจะทำลายได้ง่าย เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพ
4.6  ทำให้โครงสร้างของป่าเปลี่ยนแปลงไป ถ้าไฟป่าเกิดซ้ำซากในฤดูแล้งทุก ๆ ปี สภาพ
ป่าจะกลายเป็นทุ่งหญ้า ซึ่งมีหญ้าคาและหญ้าขจรจบเป็นส่วนมาก
4.7  ทำให้เกิดสภาวะปริมาณน้ำไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่จะใช้ประโยชน์ เมื่อฝนตกเกิด
น้ำท่วม และไม่มีน้ำซับ น้ำซึมเอาไว้ใช้ในฤดูแล้ง
4.8  ทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาผสมกับเถ้าถ่าน ความเป็นกรดเป็นด่างเปลี่ยนแปลง ออกซิเจน
ในน้ำลดลงเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำและพืชน้ำและน้ำนั้นมีกลิ่นเหม็น
ไม่สามารถนำมาใช้ หรือดื่มได้
4.9  ทำให้สัตว์ใหญ่ขาดแคลนอาหาร และสัตว์เล็กที่เป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ตามไปเพราะ
ไฟเผาจนสูญพันธุ์ สัตว์ร้ายขาดที่อยู่อาศัย ขาดอาหาร จึงเข้ามาอาศัยในพื้นที่เกษตร
กรรมเช่น ไร่ นา สวน และในหมู่บ้าน แล้วทำลายทรัพย์สินและชีวิตของประชาชน
4.10 ไฟป่าอาจลุกลามเข้าเผาไร่ นา สวน และหมู่บ้านของประชาชน
4.11  ผลกระทบจากควันพิษและก๊าชต่าง ๆ จากไฟป่า จะลอยขึ้นไปสู่ชั้นของบรรยากาศ ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก  บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้สภาพภูมิ   อากาศของโลกเปลี่ยนแปลง อากาศร้อนและเกิดภัยธรรมชาติชนิดต่าง ๆ รุ่นแรงขึ้น
5. การเตรียมพร้อมเพื่อลดความสูญเสียจากไฟป่า
5.1 ก่อนเกิดไฟป่า
        - กำจัดพืชที่ติดไฟได้ง่าย เช่น พวกหญ้าคา  หญ้าสาบเสือ พงอ้อ ใบไม้กิ่งไม้เล็ก ๆ
โดยเฉพาะในฤดูแล้งควรถางป่าหรือเก็บกองใบไม้แห้งเป็นกอง ๆ แล้วเผาทิ้ง
ควบคุมดูแลการลุกไหม้
ควรถางป่าให้ห่างจากทางเดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร  อย่าให้รกรุงรัง  ทั้งนี้เพื่อ
ป้องกันการติดต่อลุกลามของไฟจากคนที่ทิ้งไฟและทิ้งก้นบุหรี่ซึ่งยังไม่ดับ การจุดเผาสิ่งใด ๆ ในป่าควร
ทำในบริเวณที่ไม่มีกิ่งไม้หรือหญ้าแห้งที่จะทำให้เกิดการติดต่อลุกลามเข้าไปในบริเวณพงหญ้า  ใบไม้
แห้งในป่าได้ 
         -  เมื่อพบเห็นกองไฟที่มีบุคคลเผาทิ้งไว้ก็รีบดับเสีย  หรือเห็นไฟไหม้ก็รีบทำการดับ
ก่อนที่จะทำให้เกิดการลุกไหม้มากขึ้น  การดับไฟไหม้หญ้าที่คุกรุ่นอยู่ควรทำทันที  เมื่อเห็นว่าจะไม่สามารถ
ดับได้ด้วยตนเองก็รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่าขณะที่กำลังรอเจ้าหน้าที่ถ้าไม่เป็น
การเสี่ยงต่ออันตรายมากนักให้ช่วยกันดับไฟไปก่อนอย่าปล่อยให้ลุกลามมาก
         -  ควรมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติตนในการใช้ไฟและความร้อน เมื่อเข้าไปทำงานหรือ
ท่องเที่ยวในป่า ควรปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการป้องกันไฟป่า  และปฏิบัติตามข้อแนะนำในการใช้ไฟ
และความร้อน ของกรมป่าไม้
         - ให้ความร่วมมือและเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่  เพื่อความปลอดภัยต่อการเกิด
ไฟป่า  แนะนำผู้ปกครองและเพื่อนบ้านให้รู้อันตรายจากไฟป่า  เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยและ
สมัครเป็นอาสาสู้ไฟป่าประจำหมู่บ้านด้วย
         - การเตรียมการดับไฟป่า (Pre – suppression) แม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันไฟป่า
อย่างดีแล้ว แต่ไฟป่าก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อม เพื่อดับไฟป่าก่อนที่จะถึง
ฤดูไฟป่า ซึ่งต้องเตรียมการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
              (1)  เตรียมคน คือการจัดองค์กรดับไฟป่า เตรียมความพร้อมของพนักงานดับไฟป่า และเยาวชนอาสาสู้ไฟป่า
              (2) เตรียมเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือดับไฟป่าทุกชนิด รวมไปถึงเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์การสื่อสาร และยานพาหนะ
              (3)  การฝึกอบรม อบรมพนักงานดับไฟป่าและเยาวชนอาสาสู้ไฟป่าให้มีความรู้และ ทักษะในการใช้เครื่องมือดับไฟป่า  ตลอดจนยุทธวิธีในการดับไฟป่าเพื่อให้มีขีด  ความสามารถและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานดับไฟป่า
          -  การตรวจหาไฟ (Detection) ถือเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติงานดับไฟป่า ในช่วง
ฤดูไฟป่า กรรลาดตระเวนตรวจหาไป เพื่อให้ทราบว่ากำลังเกิดไฟไหม้ป่าขึ้นที่ใด
แล้วจึงดำเนินการดับไฟป่าต่อไป การตรวจหาไฟทำได้หลายวิธี ได้แก่ ใช้พลลาด
ตระเวน เช่น อาสาสู้ไฟป่าประจำหมู่บ้าน ใช้หอดูไฟ หรือตรวจหาไฟโดยเครื่องบิน
เป็นต้น
5.2 ขณะเกิดไฟป่า
         -   ควรพิจารณาในการเข้าไปดับไฟ เพราะถ้าไม่มีความเข้าใจในการลุกไหม้ของไฟป่า
จะได้รับอันตราย เพราะไฟป่าเมื่อลุกไหม้นั้น ความรุนแรงของไฟขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิง
ที่ลุกไหม้และกระแสลม ยิ่งในหุบเขาจะเป็นการยากที่จะรู้ทิศทางของไฟเพราะการ
ลุกไหม้ในพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ไฟจะเปลี่ยนทิศทางอยู่ตลอดเวลา
          -   ถ้ายังไม่มีเครื่องมือ  หรือยังไม่มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิง จากหน่วยควบคุมไฟป่าแล้วอย่า
เข้าไปเสี่ยงในการดับ เว้นแต่เป็นการลุกไหม้เล็กน้อยที่เกิดจากหญ้าและวัชพืชต่าง ๆ
ซึ่งอาจลุกลามสร้างความเสียหายได้ ถ้าไม่รีบดับก็จะลุกลามป่าไม้ยืนต้นหรือบ้านเรือน
จึงควรช่วยกันตัดกิ่งไม้สดตีไฟที่ลุกไหม้ตามบริเวณหัวแนวให้เชื้อเพลิงแตกกระจายแล้ว
ตีขนานกับที่กำลังลุกลามหรือใช้รถทับหญ้าให้ราบตามแนวที่ไฟจะลุกลามไปถึง จะทำให้
เพลิงลุกไหม้น้อยลง ถ้ามีรถแทรกเตอร์ควรไถทำเป็นแนวกันไฟ แนวกันไฟอาจกว้าง
ตั้งแต่ 510 เมตรขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ถูกไฟไหม้ เชื้อเพลิงและลักษณะอากาศ

11 ความคิดเห็น:

  1. ความรู้เพียบเลย

    ตอบลบ
  2. ไฟป่าน่ากลัวจัง

    ตอบลบ